• การเขียนรายงานผลการศึกษาเป็นการนำเสนอผลงานที่ได้จากการปฏิบัติการแปลควรามหมาย/ศึกษา
  • ส่วนประกอบของการเขียนรายงานผลการศึกษา ควรดำเนินการคล้าย ๆ กับการเขียนงานวิจัย หรืองานทางวิชาการ
  • การเขียนรายงานการแปลความหมายให้มีประสิทธิภาพ ส่วนใหญ่เน้นหัวข้อ การเขียนดังนี้
  • วัตถุประสงค์ของโครงการ
  • พื้นที่โครงการ : เขียนรายงานถึงลักษณะทางกายภาพ และลักษณะทางเศรษฐกิจสังคมของพื้นที่โครงการ (เน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ที่ดิน เช่น
        ลักษณะภูมิประเทศ ระดับความสูง สัณฐานวิทยา ภูมิอากาศ ลักษณะดิน พืชพรรณ รวมถึงลักษณะทางประชากร เช่น ศาสนา เป็นต้น)

  • เครื่องมือและวัสดุที่ใช้ศึกษา : บอกมาตราส่วนภาพถ่ายทางอากาศ วันเดือนปีที่ถ่าย สัดส่วน/ปริมาณเมฆในภาพ
  • วิธีการศึกษา : บอกลำดับขั้นตอนการปฏิบัติงานแปลความหมาย การทำแผนที่ การตรวจสอบข้อมูลภาคสนาม การแก้ไข/ปรับปรุงแผนที่ และชนิด/รูปแบบข้อมูลที่รายงานผล
        (ควรลำดับขั้นตอน และเขียนผังขั้นตอนงาน)
  • แผนที่ : เป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด (แผนที่ต้องมีคำอธิบายสัญลักษณ์ที่ชัดเจน สื่อความหมาย สรุปสาระสำคัญ
  • ผลการศึกษา : เขียนอธิบายรายละเอียดของหน่วย/สัญลักษณ์สิ่งที่ปรากฏในแผนทีให้ตรงกันกับแผนที่ และควรมีรูปแบบเดียวกันทั้งโครงการ
  • สรุปผลการศึกษา

  • อย่างไรก็ตามการเขียนรายงานผลการศึกษา ควรเขียนผลการศึกษาตามรูปแบบของการเขียนงานวิจัย


  •       ดูรูปแบบของบัณฑิตวิทยาลัย มอ.

     


    การเขียนรายงานผลการศึกษาในรูปแบบงานวิจัย/งานทางวิชาการ

    แบ่งเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย


     


    ส่วนนำ (Introduction) ประกอบด้วย

      ประกอบด้วยหัวข้อสำคัญ :
    1. หัวเรื่อง (Title Page)
    2. หน้าอนุมัติ โครงการ(Approved Page)
    3. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgement)
    4. สารบัญ (Table Contents)
    5. สารบัญตาราง (List of Table)
    6. สารบัญรูป (List of Figures)


     

    ส่วนเนื้อความ (Main Body)
    1. บทนำ (Introduction) ประกอบไปด้วย

        1.1 ความเป็นมาของปัญหา หรือประเด็นปัญหา (Statement of Problems) ได้แก่ ปัญหาที่ผู้วิจัยจะต้องตอบ หรือสมมุติฐานที่จะต้องทดสอบ (Hypothesis to be Tested)
        1.2 ความสำคัญของปัญหา (Significance of the Problems)
        1.3 วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purposes of the Study)
        1.4 วิธีการการดำเนินงานวิจัย (Research Procedure)
        1.5 ข้อตกลงเบื้องต้น และข้อจำกัด (Assumption and Limitation)
        1.6 คำจำกัดความ หรือนิยามศัพท์ (Definition of Terms)

    2. วรรณกรรม เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literature)

    3. วิธีดำเนินการวิจัย (Research Design) การดำเนินการวิจัย ต้องเขียนแสดงรายละเอียดให้เห็นถึงขั้นตอนในการดำเนินงานวิจัยทุกขั้นตอน ประกอบด้วย
        3.1 กระบวนการที่ใช้ (Procedures)
        3.2 แหล่งข้อมูล หรือกลุ่มประชากร (Source of Data Population)
        3.3 วิธีรวบรวมข้อมูล (Methods of Data Gathering)
        3.4 การใช้เครื่องมือ (Data Gathering Instruments)

    4. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ต้องใช้หลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในวิธีการดำเนินการวิจัย และดำเนินการ/ปฏิบัติตามนั้น ขั้นตอนนี้จะต้องมีการจัดเรียงความสำคัญของเรื่อง (Text) บันทึกข้อมูลในรูปตาราง (Table) การจัดรูปภาพ (Figures) และการจัดทำแผนที่

    5. การย่อ และสรุปผล (Summary and Conclusion) ประกอบด้วย
        การกล่าวซ้ำปัญหาที่สำคัญ (Restatement of the Problems)
        กล่าวถึงกระบวนการที่นำมาใช้ (Description of Procedures Used)
        สิ่งที่ค้นพบ และข้อสรุป (Finding and Conclusion)
        ข้อเสนอแนะ (Recommendations)

     

     


     

    ส่วนอ้างอิง (Reference)
    ในส่วนนี้จะเป็นส่วนสุดท้ายของงานการรายงานผล ประกอบด้วย
        1. บรรณานุกรม (Bibliography) เป็นการอ้างถึงหลักฐาน เอกสาร ข้อมูล ที่ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า หรือประกอบการเขียนรายงาน และนํามาอ้างอิงไว้ท้ายเล่ม
            รูปแบบการเขียนมีหลายแบบ ให้เลือกตามที่ผู้แปลเห็นว่ามีความสอดคล้องกับงาน หน่วยงานสังกัด หรือแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุน

            ในรายงานผลการศึกษาจำเป็นต้องมีบรรณานุกรมแนบท้าย ด้วยเหตุผลต่อไปนี้
              1) เพื่อแสดงว่ารายงานฉบับนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล มีหลักฐานอ้างอิง มีเนื้อหาสาระน่าเชื่อถือได้
              2) เพื่อแสดงว่าผู้เขียนรายงานเคารพสิทธิและผลงานของผู้แต่งหรือผู้จัดทำหนังสือ/เอกสารที่ได้นํามาใช้ประกอบการเขียน/การแปลความหมายนั้น
              3) เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้ศึกษารายละเอียด หรือข้อเท็จจริงที่นํามาประกอบการเขียนเพิ่มเติมได้อีก
              4) เพื่อตรวจสอบหลักฐานดั้งเดิมที่ผู้เขียนนํามาประกอบในรายงาน

    การเขียนรายงานกำหนดให้เขียนอ้างอิงแบบนาม-ปี (Name-year or Author-date style) และมีการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงทั้งหมดไว้ตอนท้ายเอกสาร เรียกว่า เอกสารอ้างอิง (references) หรือ บรรณานุกรม (bibliography) อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ ตามเงื่อนไขดังนี้
    1. เอกสารอ้างอิง เป็นการรวบรวมเฉพาะรายการเอกสารที่ถูกอ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงต้องมีจำนวนเท่ากันกับที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
    2. บรรณานุกรม เป็นการรวบรวมรายการเอกสารที่ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อหาทั้งหมด รวมทั้งรายการเอกสารอื่นที่มิได้อ้างไว้ในส่วนเนื้อเรื่องมารวบรวมไว้ก็ได้ หากเห็นว่าเอกสารนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เขียนและจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ดังนั้นจำนวนรายการเอกสารที่อ้างอิงในส่วนท้ายเรื่องจึงอาจมีมากกว่าจำนวนที่ถูกอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง
      การเลือกรูปแบบการเขียนโดยทั่วไป ได้แก่ :
         1) APA (American Psychological Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์ สาขาการศึกษา จิตวิทยา และอื่นๆ
         2) AMA (American Medical Association) เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะทางชีววิทยา
         3) Chicago เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในทุกสาขาวิชา นิยมใช้ในการลงรายการหนังสือ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารที่อ้างอิงเป็นเอกสารที่ไม่เป็นวิชาการมากนัก
         4) MLA (Modern Language Association) หรือ เป็นรูปแบบการลงรายการทางบรรณานุกรมที่เป็นที่นิยมใช้ในสาขาวิชา วรรณกรรม ศิลปะ และสาขามนุษยศาสตร์


      สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้เขียนบรรณานุกรมอ้างอิงตามรูปแบบของ :
       บัณฑิตวิทยาลัย    หรือ    APA


    3. 2. ภาคผนวก (Appendlx)

              เป็นส่วนเนื้อหาที่เพิ่มเติมจากรายงาน เพื่ออธิบายให้เข้าใจ/ขยายความเนื้อเรื่องได้ดีขี้น หรือบอกองค์ประกอบเนื้อหาเพิ่มเติม เช่น แสดงสถิติ รูปภาพ แบบสอบถาม เป็นต้น

      ภาคผนวกจะประกอบด้วย
         1. ตาราง กราฟ แผนที่ แผนภูมิ เช่น ภาพการออกเก็บข้อมูล/สำรวจ/ตรวจสอบข้อมูลภาคสนาม เป็นต้น
         2. เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัย
         3. สําเนาเอกสารหายาก
         4. หนังสือขอความอนุเคระห์/ขอความร่วมมือเก็บข้อมูล







      กลับหน้าหลัก