การทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดิน และสิ่งปกคลุมดิน

           
ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้      
       
       
       
       
           


 



การปฏิบัติการแปลภาพถ่าย (interpretation procedure)
      ก่อนเริ่มกระบวนการแปล ผู้แปลจะต้องมีวิธีการที่จะทำการแปลภาพ ซึ่งแต่ละคนอาจจะใช้วิธีที่แตกต่างกัน แต่มีขั้นตอนทั่วไป ดังนี้
  1. เข้าใจแจ่มแจ้งถึงสารสนเทศที่เราต้องการ เช่น ประเภท และระดับของการจำแนก ระดับ
    ความละเอียด และความถูกต้องของการแปล
  2. เข้าใจว่าข้อมูลที่เราต้องการนั้นแสดงออกอย่างไรในภาพถ่าย จากเอกสารอื่นๆ
  3. ประเมินความเหมาะสมของภาพที่นำมาใช้ เครื่องมือ และความชำนาญของผู้ร่วมงานใน
    การสกัดข้อมูลออกมา
  4. แปลภาพ

 

 

 


ขั้นตอนการปฏิบัติการแปลความหมาย


1. เลือกภาพถ่ายทางอากาศที่เหมาะสมที่เหมาะสม

     1.1  มาตราส่วนภาพถ่าย   แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินโดยทั่วไปมักจะจัดทำในมาตราส่วน 1:10,000 ถึง 1:250,000 ดังนั้นควรเลือกขนากภาพถ่ายตามระดับมาตราส่วนที่สอดคล้อง ทั้งนี้การเลือกภาพถ่ายควรเลือกขนาดมาตราส่วนใหญ่กว่า เหรือเท่ากับมาตราส่วนแผนที่ที่ต้องการจัดทำ หรือจัดทำแผนที่ขนาดมาตราส่วนที่เล็กกว่า อาทิ
            ต้องการทำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินมาตราส่วน 1:15,000 ควรเลือกภาพถ่ายที่มีมาตราส่วนใหญ่กว่าหรือ เทียบเท่า มาตราส่วน 1:15,000

     1.2  การรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ (convergence of evident) ในการแปลภาพ ผู้แปลจะรวบรวมหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากหลายแหล่ง ตามวัตถุประสงค์การแปล เมื่อรวบรวมหลักฐานให้ได้มากพอที่จะยืนยันผลการจำแนกวัตถุ เช่น เมื่อต้องการศึกษาพื้นที่สวนยางพารา จำเป็นต้องรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับลักษณะภูมิประเทศ ระดับความสูง แผนที่ชุดดิน แผนที่การใช้ที่ดินในอดีต ลักษณะภาพถ่ายต้องคำนึงถึงโทนสีของสิ่งที่เราสนใจ มีรูปแบบการวางตัว และที่ตั้ง อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งหลักฐานที่ได้จากภาพไม่เพียงพอต่อการแปล เช่นในปัจจุบัน มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ลุ่มหรือพื้นที่นาข้าวเดิมเปลี่ยนเป็นพื้นที่ยางพารา หรือปาล์มน้ำมัน ดังนั้นจำเป็นต้องหาหลักฐานจากแหล่งอื่นมาเสริมด้วย
                เอกสารพื้นฐานที่ควรใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อการแปลความหมาย ประกอบด้วย





2. เลือกระบบการจำแนกที่เหมาะสม
     การแปลความหมายภาพถ่ายทุกครั้งต้องกำหนดระบบการจำแนก (Classification system) และเงื่อนไข (Criteria) ที่ใช้ในการแบ่งประเภท /หมวดหมู่ (Categories) ชนิดของวัตถุที่ปรากในภาพ อาทิ การทำแผนที่การใช้ที่ดิน ผู้แปลต้องกำหนดระบบการจำแนกการใช้ที่ดินก่อน ซึ่งอาจใช้ระบบของ กรมพัฒนาที่ดินของประเทศไทย หรือตามระบบของสหรัฐอเมริกา   (ข้อควรคำนึงคือ : ในแต่ละภูมิภาคมีสภาพการใช้ที่ดินแตกต่างกัน หรือมีลักษณะเฉพาะตามภูมิภาค อะไรที่ใช้แยกความแตกต่าง ถ้ามีผู้ทำงานร่วมกันหลายคน จะต้องมีการตกลง/ทำความเข้าใจให้ดีในรายละเอียดที่แน่นอนต่อสิ่งเต่างๆ และต้องกำหนดไว้ก่อนที่จะลงมือแปล หลังจากนั้นก็ให้กำหนดสัญลักษณ์กับสิ่งที่แยกไว้ การศึกษาครั้งนี้กำหนดใช้ตาม ตาราง 1 ระบบรหัสการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) : ภาควิชาภูมิศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ทั้งนี้ผู้แปลอาจเลือกใช้ระบบการจำแนกอย่างใดอย่างหนึ่งได้เอง หรือกำหนดเพิ่มเติมในกรณีที่ระบบไม่ได้กำหนดเอาไว้)



กลับด้านบน





3. จำแนกชนิดและเขียนขอบเขต


     3.1 การจำแนกประเภทและชนิดของวัตถุที่ปรากฏในภาพ ในระดับต่าง ๆ อาศัยคุณลักษณะของวัตถุที่ปรากฏในภาพ ประกอบด้วย รูปร่าง ขนาด สี เนื้อภาพ เงา ที่ตั้ง รูปแบบ เป็นต้น

     3.2 การลากขอบเขตเพื่อจำแนกพื้นที่ของวัตถุแต่ละชนิด การกำหนดลากขอบเขตพื้นที่ต้องเข้าใจว่ามีขีดความสามารถที่จะแปลความหมายจำแนกวัตถุและลากขนาดเส้นของหน่วยพื้นที่ได้เล็กที่สุดเท่าใด ซึ่งต้องคำนึงถึง (มาตราส่วนภาพถ่าย + วัสดุอุปกรณ์เครื่องเขียน)
          หน่วยพื้นที่ในภาพถ่าย คือ การเลือกหน่วยแผนที่ที่เล็กที่สุด (Minimum mapping unit, หรือ MMU) ที่ลากได้ถูกต้องตามขนาดมาตราส่วนที่ใช้ในกระบวนการแปล
           MMU หมายถึง :
  • ขนาดพื้นที่บนภาพที่เล็กที่สุด ที่สามารถวาดขอบเขตเพื่อการทำแผนที่หนึ่ง ๆ
  • จะเป็นตัวกำหนดรายละเอียดของการแปล
  • ขึ้นอยู่กับมาตราส่วนและความละเอียดของภาพ

  • ตาราง ขนาดพื้นที่เล็กที่สุดตามขนาดมาตราส่วน (กำหนดลากขอบเขตด้วยเส้นขนาด 1 มม.)

    ระดับการจำแนก

    มาตราส่วนของแผนที่

    ขนาดพื้นที่ที่เล็กที่สุดที่จะกำหนดลงบนแผนที่ (ตารางเมตร)

    1 1 : 500,000 25,000
    2 1 : 100,000 10,000
      1 : 50,000 2,500
    3 1 : 24,000 576

     

    1 : 15,000

    225

    ตัวอย่าง พื้นที่สีแดง
    ขนาดพื้นที่เล็กที่สุดไม่ควรเล็กกว่า
    6.25 ตารางมิลลิเมตร


    หลักการลากขอบเขต ผู้แปลลากขอบเขตเพื่อแยกประเภทสิ่งต่างๆ ให้เริ่มดังนี้
  • ลากแยกเขตพื้นที่จากสิ่งที่มีลักษณะที่แตกต่างกันมากที่สุดก่อน หรือเริ่มทำงานจากลักษณะทั่วไป (general) ไปสู่เฉพาะเรื่องที่เฉพาะเจาะจง (specific) เช่น
    การแปลการใช้ ที่ดินให้เริ่มจากการแยก “ที่อยู่อาศัย” กับ “น้ำ” และ“พื้นที่เกษตร” (จำแนกระดับ 1 ก่อน)
  • แยกรายละเอียดต่อจากระดับที่ 1 หรือในแต่ละประเภทให้ละเอียดเพิ่มขึ้น
  • แปลจากภาพถ่ายมาตราส่วนเล็ก ไปหามาตราส่วนใหญ่
  • แปลสิ่งที่รู้หรือจดจำได้ก่อน แล้วค่อยแปลรายละเอียดโดยใช้กลยุทธ์ในการแปลภาพ
  • ถ้าไม่ทราบว่าสิ่งที่แปลคืออะไร ให้กำหนดรหัส แล้วใช้ข้อมูลที่ได้จากการไปตรวจสอบในภาคสนามนำมาปรับปรุง
  •  


         3.3 ขั้นตอนการปฏิบัติการแปลความหมายและลากขอบเขต
  • เรียงภาพถ่ายอย่างเป็นระบบตามดัชนีภาพ (ตามแนวบิน) และสอดคล้องกับแผนที่ ถ้าบริเวณใดที่มีเมฆปกคลุม อาจจะต้องวางแผนหาวิธีการอื่นมาทดแทนที่ว่างนี้

  • เส้นทางบิน แกนแนวบิน ลำดับภาพ ส่วนซ้อน ส่วนเกยตามแนวบิน



  • ทาบกระดาษไขหรือแผ่นใสลงเป็นภาพถ่าย ทำเครื่องหมายจุดต่างๆ ลงไปก่อนเพื่อการต่อภาพ เช่น ทิศเหนือ จุดดัชนี หมายเลขรูปถ่าย จุดหลัก และ จุดควบคุมบนพื้นดิน ถนน หรือ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น
  • ลากขอบเขตบนแผ่นใสหรือกระดาษไขที่ทาบลงบนภาพ แล้วเขียนสัญลักษณ์ หรือตัวเลขแทน




  • สัญลักษณ์ลงในขอบเขตที่วาดทุกครั้ง ขอบเขตที่ลากจะต้องให้มีจุดเริ่มและจุดจบเป็นจุด เดียวกัน (polygon) สัญลักษณ์ดังกล่าวได้มาจากการกำหนดแบบแผนการจำแนก และ MMU ในตอนเริ่มกระบวนการแปลภาพ



  • เมื่อเอาภาพที่แปลมาต่อกัน ผู้แปลแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในการปรับขอบเขตของพื้นที่ ที่เป็นรอยต่อให้เข้ากันได้ ทั้งนี้หัวหน้าโครงการจะต้องตรวจว่ารายละเอียดสม่ำเสมอ เป็นรูปแบบเดียวกันตลอดทุกระวางหรือไม่ (ตรวจการกำหนดรหัส เส้นขอบเขต)


  •  





    4. การใช้ข้อมูลอื่นมาประกอบ
    ถ้าผู้แปลไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ การนำข้อมูลอื่นมาประกอบการแปลความหมายสามารถช่วยให้การจำแนกและเข้าถึงพื้นที่ทำได้ดีขึ้น อาทิ
    • แผนที่ภูมิประเทศ หรือแผนที่มูลฐาน ชุด L7017 หรือ L7018 ของกรมแผนที่ทหาร มาตราส่วน 1:50,000
    • แผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินในอดีตที่มีผู้แปลความเอาไว้ : จากกรมพัฒนาที่ดิน
    • แผนที่ชุดดิน : จากกรมพัฒนาที่ดิน



    กลับด้านบน




    5. การตรวจสอบข้อมูลภาคสนาม  
  • เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง และเพื่อแก้ไขปรับปรุงงานแปล เพราะสิ่งที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศ อาจไม่ตรงกับภูมิประเทศในปัจจุบัน เนื่องจาก อาจมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในบริเวณนั้น
  • หลังจากแปลความหมายเพื่อจำแนกสิ่งปกคลุมดินจากข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศเป็นชั้นข้อมูลแล้ว จำเป็นการตรวจสอบค่าความถูกต้องของการจำแนกประเภทข้อมูลหรือความสอดคล้องของค่าจำแนกกับ ค่ามาตรฐานการแปลความหมาย
  • นำข้อมูลการจำแนกสิ่งปกคลุมดินด้วยเทคนิค ต่าง ๆ มาตรวจสอบ ค่าความถูกต้องกับข้อมูลจริงที่ได้จากการสำรวจภาคสนาม ซึ่งอาจใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบธรรมดา (Simple sampling) การสุ่มแบบจำแนกระดับชั้น (Stratified random sampling) และประเมินผลโดยใช้ตารางความคลาดเคลื่อน (Error matrix หรือ Confusion matrix) เช่น คำนวณค่าถูกต้องโดยรวม (Overall accuracy) ค่า Producer’s accuracy, User’s accuracy หรือ วิธีค่าสัมประสิทธิ์ Kappa เป็นต้น โดยกำาหนดค่าความถูกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 85 ดังนี้
  • แผนที่ชุดดิน : จากกรมพัฒนาที่ดิน







    กลับหน้าหลัก