การคัดเลือกภาพถ่ายทางอากาศเพื่อใช้ในการแปลความหมาย
สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ประกอบด้วย :

1. ปัจจัยที่เกิดจากกระบวนการถ่ายภาพ มีดังนี้

      1.1 ความคมชัดของภาพ เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยในการแปลความหมายให้ง่ายขึ้น สิ่งที่ควบคุมความคมชัดของภาพ คือ ชนิดของฟิล์ม เลนส์กล้องบันทึกภาพ มาตราส่วน ระดับสูงบิน เวลาที่บันทึกภาพถ่ายและขั้นตอนการอัดล้างภาพในแต่ละครั้ง

      1.2 ชนิดฟิล์มที่ใช้ ควรเลือกฟิล์มที่มีความไวต่อช่วงแสงในช่วงคลื่นใดช่วงคลื่นหนึ่ง เท่านั้น

  • ภาพแพนโครเมติก (Panchromatic Aerial Photography)
  • เป็นภาพประเภทภาพขาว-ดำ
  • ใช้เป็นพื้นฐาน/งานทั่วไปในงานทำแผนที่ภูมิประเทศ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ธรณีวิทยา เป็นต้น
  • เป็นภาพจากฟิล์มแพนโครเมติกที่ไวแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ฟิล์มนี้ใช้ร่วมกับแว่นกรองแสง (Filter) เพื่อลดผลกระทบจากหมอกแดด (Haze)
  • องค์ประกอบของวัตถุที่ปรากฏในภาพแสดงโครงสร้างของวัตถุได้ชัดเจน ภาพของพื้นผิวโลกปรากฏเป็นสีขาวดำที่มี ความเข้มจางต่างกัน วัตถุที่มีสีอ่อนเช่น ถนนคอนกรีต จะปรากฏเป็นสีเทาขาว ส่วนวัตถุที่สีเข้ม เช่น ป่าไม้จะเป็นสีเทาเข้ม เป็นต้น แต่ภาพขาวดำมีความไวแสงต่ำในช่วงแสงสีเขียว จึงทำให้พืชพรรณชนิดต่างๆ มีความเข้มไม่แตกต่างกันนัก

  • ภาพขาว-ดำ (Pan chhromatic) ภาพสี ภาพสีอินฟราเรด


  • ภาพสีปกติ (Normal Color Aerial Photography) เป็นภาพจากฟิล์มสีปกติที่ ไวแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น ฟิล์มนี้ใช้ร่วมกับแว่นกรองแสงที่เหมาะสมกับสภาพอากาศ และความสูงบิน ภาพสีปกติมีสีใกล้เคียงกับสีธรรมชาติของภูมิประเทศ จึงทำให้แปลความหมาย ง่ายกว่าภาพขาวดำ เพราะสายตามนุษย์มีประสิทธิภาพในการจำแนกวัตถุสีดีกว่าวัตถุโทนขาวดำ ภาพสีปกติสามารถใช้จำแนกชนิดดิน หิน แหล่งน้ำ และพืชพรรณได้ดี แต่การถ่ายภาพจะต้อง ระมัดระวังให้ภาพมีสีคงที่ และมีรายละเอียดคมชัด
  • ภาพขาวดำอินฟราเรด (Black-and-White Infrared Aerial Photography) เป็นภาพ สีขาวดำจากฟิล์มอินฟราเรดที่ไวแสงช่วงคลื่นอินฟราเรด แสงอินฟราเรดสามารถทะลุหมอกแดด หมอกควันและฝุ่นละอองได้ ภาพอินฟราเรดจึงชัดเจนกว่าภาพขาวดำและภาพสีปกติ ฟิล์ม อินฟราเรดใช้ร่วมกับแว่นกรองแสงที่ตัดแสงช่วงคลื่นที่ตามองเห็น สามารถบันทึกภาพของวัตถุที่ สะท้อนแสงอินฟราเรดได้
    สนามหญ้าจริงจึงปรากฏบนภาพขาวดำอินฟราเรดเป็นสีขาว ส่วน สนามหญ้าเทียมจะเป็นสีเทาเข้ม-ดำ ขึ้นกับปริมาณความชื้นของสนามหญ้าเทียม
  • ภาพสีอินฟราเรด (Infrared Aerial Photography) เป็นภาพจากฟิล์มอินฟราเรดที่ ไวแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น และช่วงคลื่นอินฟราเรด ฟิล์มชนิดนี้ใช้ร่วมกับแว่นกรองแสงที่ ตัดแสงสีน้ำเงิน สีที่ปรากฏในภาพสีอินฟราเรดไม่ใช่สีธรรมชาติ เพราะวัตถุที่สะท้อนแสงสีเขียว แสงสีแดง และแสงอินฟราเรด จะปรากฏในภาพถ่ายอินฟราเรด เป็นสีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง ตามลำดับ


  • ภาพสีภาพขาว-ดำ (Pan chhromatic) ภาพสีอินฟราเรด ภาพสีอินฟราเรด
    https://www.researchgate.net/figure/235039474_fig1_Figure-1-Normal-color-a-and-color-infrared-b-aerial-photographs


          1.3 มาตราส่วน ภาพถ่ายที่มาตราส่วนใหญ่จะให้รายละเอียดที่เด่นชัดกว่า แต่ ครอบคลุมพื้นที่แคบกว่าภาพมาตราส่วนเล็ก
    1 : 9,600 1 : 12,600 1 : 36,00 1 : 48,000

          1.4 เวลาการบันทึกภาพ
    การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมในการบันทึกภาพถ่ายทางอากาศนั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำภาพถ่ายนั้นไปใช้ประโยชน์ เช่น
  • กรณีต้องการศึกษางานด้านการวางผังเมือง การเลือกถ่ายภาพในช่วงต้นฤดูร้อน (ช่วงเดือน ก.พ. - มี.ค.) เพราะเป็นช่วงเวลาที่ต้นไม้ผลัดใบและมักปราศจากเมฆปกคลุม
  • กรณีศึกษางานด้านป่าไม้ /พืชพรรณธรรมชาติ ควรเลือกใช้ภาพในช่วงต้นฤดูหนาว (กลางตุลาคม-ต้นธันวาคม) เพราะป็นช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่และเป็นช่วงเวลาที่ท้องฟ้าส่วนใหญ่ของประเทศมีเมฆปกคลุมน้อยหรือ ปราศจากเมฆ

  •       1.5 ความต่อเนื่อง/การครอบคลุมของภาพ

  • มีลำดับภาพต่อเนื่องกันตลอดทั้งพื้นที่ศึกษา
  • ภาพแต่ละภาพมีส่วนซ้อน (Overlap) ประมาณ 40-60 % และ/หรือมีส่วนเกย (Sidelap) ประมาณ 20-30 %


  • 2. การเปลี่ยนแปลงตามเวลา (Temporal change)   การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ทางธรรมชาติที่ เกิดในแต่ละช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลง มีความสำคัญต่อการแปลภาพถ่ายเพราะว่าปัจจัยต่างๆ ที่ เปลี่ยนแปลงจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ ตัวอย่างเช่น การแยกชนิดของพืชพรรณจะทำได้ดี ถ้ามีภาพจากหลายๆ ฤดูกาล หรือหลายๆ ปี นอกจากนั้นการผันแปรของฤดูกาล และภูมิอากาศจะทำ ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในระยะสั้น และในระยะยาวด้วย พืชพรรณซึ่งสะท้อนแสงอินฟราเรดมาก ปรากฏบนภาพเป็นโทนสีแดงเข้มจาง แตกต่างกัน จึงมักเรียกว่าสีเท็จ (false color) ตัวอย่างเช่น ในภาพสีอินฟราเรด สนามหญ้าจริงจะเป็นสีแดงแสดแต่สนามหญ้าเทียมจะเป็นสีน้ำเงินหรือดำขึ้นกับปริมาณความชื้น ของสนามหญ้าเทียมภาพสีอินฟราเรดมีประโยชน์ในการใช้จำแนกพืชพรรณ และศึกษา ความสมบูรณ์ของพืชพรรณ และปริมาณความชื้น


    ภาพขาว-ดำ (Pan chhromatic) ภาพสี ภาพสีอินฟราเรด
    ภาพถ่ายทางอากาศ พื้นที่ท่าเรือ the Napa River Bridge in Vallejo, California, USA

    ที่มา : https://www.researchgate.net/figure/235039474_fig1_Figure-1-Normal-color-a-and-color-infrared-b-aerial-photographs

     






    กลับหน้าหลัก