ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

แผนที่แหล่งศิลปและวัฒนธรรมเพื่อการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในจังหวัดชายแดนใต้

1 / 4
มโนราห์ ภาพโดย : ส.ปชส.ปัตตานี
2 / 4
หนังตะลุง ภาพโดย : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
3 / 4

ซีละ

ภาพโดย : อัด Teaoor ชมรมสีลัตฮารีเมาปัตตานี

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในจังหวัดปัตตานี

การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่องก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล

องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติ และการแสดงออกที่พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติกับคน.

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม และงานเทศกาล

การประพฤติปฏิบัติในแนวทางเดียวกันของคนในชุมชนที่สืบทอดต่อกันมาบนหนทางของมงคลวิถี นำไปสู่สังคมแห่งสันติสุขแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชุมชนและชาติพันธุ์นั้นๆ..

ศิลปะการแสดง

การแสดงดนตรี รำ-เต้น และละครที่แสดงเป็นเรื่องราว ทั้งที่เป็นการแสดงตามขนบแบบแผน มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง และ/หรือการแสดงร่วมสมัย มีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความบันเทิง ก่อให้เกิดการคิด วิพากษ์ นำสู่การพัฒนา..

ช่างฝีมือดั้งเดิม

ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงความมีอัตลักษณ์ สะท้อนพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชน..


จังหวัดปัตตานี : ศิลปะการแสดง และ ช่างฝีมือดั้งเดิม
John

รองเง็ง

ภาพจาก : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เป็นการละเล่นของชาวบ้าน ประเภทผสมผสานระหว่างท่าเต้นกับบทร้องที่มีเรื่องราวเกี่ยวกับความรักและการเกี้ยวพาราสีของหนุ่มสาว การแสดงเหมือนกับรำวงทั่วไป มีนางรำประมาณ ๔-๑๐ คน.

Mike

ซีละ

ปันจักสีลัต : ภาพจาก ม.สงขลานครินทร์

ซีละ, สีละ ไทยมุสลิมทางภาคใต้เรื่ยกว่า ดีกา, บือดีกา เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวด้วยมือเปล่า เน้นให้เห็นลีลาการเคลื่อนไหว และท่วงท่าที่สง่างาม.

Jane

มโนราห์แขกหรือมโนราห์ควน

ภาพจาก : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส

เป็นการละเล่นพื้นเมืองในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ที่นำรูปแบบการแสดง "มะโย่ง" ของชาวไทยมุสลิม มาใช้ในกระบวนการรำ การร้อง และการแสดงเป็นเรื่อง

Jane

หนังตะลุง

ภาพจาก : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

เป็นศิลปะการเล่นเงาของชาวไทยปักษ์ใต้ จัดเป็นคณะมหรสพ เพื่อบอกเล่าเรื่องราว นิทาน คำสอนในแบบละครชาวบ้าน โดยนำเสนอผ่านการเชิดหุ่นตัวหนังที่แกะสลัก การแสดงต้องสร้างโรงหนัง ใช้จอ..

Jane

ดิเกฮูลู

ภาพจาก : ปัตตานีบ้านฉัน

เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่ได้รับความนิยมของชาวไทยมุสลิม 3 จังหวัดภาคใต้ การละเล่นขึ้นบทเป็นเพลงประกอบดนตรีและจังหวะตบมือ นิยมเล่นกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นคณะ

Jane

มะโย่ง

ภาพจาก : หอสมุดแห่งชาติ

เป็นการแสดงพื้นบ้านที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมในการแก้บน สะเดาะเคราะห์ บำบัดโรค และให้ความบันเทิงหรือเพื่อเฉลิมฉลองงานรื่นเริง ใช้เวทีแสดง