ระดับการแปล (level of interpretation)
ระดับการแปลความหมายภาพทางอากาศมีเทคนิคและระดับความสำคัญของการประเมิน การตีความที่แตกต่างกันไปตามความซับซ้อนของ กระบวนการแปล และระดับสารสนเทศที่ปฏิบัติการจำแนกหรือแยกสกัดออกจากภาพถ่าย โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้


1. การอ่านภาพ (Photo reading) 2. การวิเคราะห์ภาพ (Photo analysis) 3. การแปลภาพ (Photo interpretation) (Photo reading)  
 

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




การอ่านภาพ
  • การอ่านภาพเป็นการแปลความหมายในเบื้องต้น หรือเป็นขั้นตอนดำเนินการระยะแรกของการศึกษา
  • เป็นเทคนิคขั้นพื้นฐาน/ขั้นตอนง่ายที่สุด เกี่ยวข้องกับการรู้จักและจดจำ (Recognition) ลักษณะของวัตถุที่เห็นบนภาพถ่าย
  • ขั้นตอนนี้มีความสำคัญก่อนการวิเคราะห์ภาพ เป็นการพิจารณาภาพในเบื้องต้นในภาพรวม โดยแยกแยะลักษณะเด่นของวัตถุที่ปรากฏในภาพ แล้วหาการกระจายและความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะเด่นเหล่านั้น
  • มีลักษณะการอ่านรายละเอียดที่ปรากฏในภาพถ่าย คล้ายกับการอ่านแผนที่
  • การแปลในขั้นตอนนี้อาจยังไม่ใช้กล้องมองภาพ 3 มิติ เพื่อตรวจสอบรายละเอีย เป็นเพียงการทำความเข้าใจรายละเอียดด้วยสายตาเปล่า
  • ผู้วิเคราะห์ภาพต้องเลือกภาพได้ถูกต้องและสามารถประเมินถึงความเหมาะสมของภาพที่จะนำมาใช้ในการศึกษารายละเอียดต่อไป




  •      การวิเคราะห์ภาพ
  • เน้นการปฏิบัติการแปลความหมายแบบการอ่านภาพ
  • เพิ่มรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจลักษณะต่าง ๆ ที่เห็นในภาพได้มากขึ้น และเน้นกระบวนการแยกแยะกลุ่มวัตถุออกเป็นส่วนย่อย ๆ หรือเป็นการทดสอบวัตถุประเภทหนึ่งหรือสิ่งหนึ่งเพื่อแยกส่วนประกอบออกเป็นส่วน ๆ
  • มีกระบวนการการตรวจวัดลักษณะต่าง ๆ เชิงปริมาณต่อวัตถุที่ปรากฏในภาพถ่ายมาประกอบการแปลความหมาย (รวมการอ่านภาพ +ประเมินเชิงตัวเลข) ตัวอย่าง
  • แปลความหมายด้านการเกษตร ต้องมีการแยกแยะและวัดขนาดพื้นที่การใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ
  • ตัวอย่างพื้นที่ป่าชายเลน ปฏิบัติการจำแนกและจัดกลุ่ม (Identification and classification) เกี่ยวกับรูปร่าง ขนาด ที่ตั้ง และการใช้ประโยชน์
  • แปลความหมายรูปแบบการระบายน้ำ ประเภทลำน้ำอาจแบ่งจากลำน้ำมีน้ำไหลตลอดปี กับ ลำน้ำแบบไหลไม่ตลอดปี ในส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำ แบ่งลำดับศักย์ของลำน้ำและเขียนขอบเขต
    และวัดขนาดพื้นที่
  • งานด้านอื่น ๆ เช่น การทำแผนที่ชั้นความสูง แปลพื้นที่ที่มีการชะล้างพังทลาย และโครงข่ายถนน เป็นต้น
  • การวิเคราะห์ภาพจะให้สาระที่จำเป็นเกี่ยวกับพื้นที่ แต่ไม่ได้รวมถึงการสังเคราะห์ (synthesis) ข้อมูลเหล่านั้น ในบางครั้งการวิเคราะห์ภาพอาจจะเพียงพอแล้วในบางวัตถุประสงค์
    แต่จะไม่เพียงพอถ้าต้องการเข้าใจถึงเหตุ และผลของเรื่องราวต่างๆ




  •      การแปลความหมายภาพถ่าย
  • เป็นขั้นตอนการวิเคราะห์แบบตั้งเหตุผล หรือตั้งสมมุติฐาน (inductive) และสืบหาสาเหตุผลเฉพาะเรื่อง (deductive)
  • ขั้นตอนนี้มีความยากที่สุดต้องใช้ศาสตร์ทั้งศิลป์และวิทยาศาสตร์ รวมเอาเทคนิคทั้งการอ่านภาพและการวิเคราะห์ภาพเข้าด้วยกัน และเพิ่มรายละะอียดต่อไปนี้
  • ใช้ข้อมูลอื่นมาร่วมประกอบการแปลความหมาย หลังจากที่นักตีความภาพถ่ายทาง อากาศได้ทำการวิเคราะห์ภาพโดยแบ่งแยกกลุ่มของรายละเอียดแล้ว
    จะต้องหาข้อมูลมาอธิบาย เพิ่มเติม ทั้งลักษณะทางกายภาพ ชีวะพืชพรรณ สังคม หรืออื่นๆ เพื่อที่จะทราบหน้าที่และความสัมพันธ์ของลักษณะสำคัญต่างๆ ที่วิเคราะห์ การสืบสาวเหตุผลจากความรู้ ปรากฏการณ์ พยานหลักฐานและสิ่งแวดล้อมต่างๆ มาช่วยในการตั้งสมมุติฐานและสืบสาวเหตุผล สามารถนำไปใช้ได้ในทุกระดับการแปล การแปลสิ่งที่เรา เห็นหรือไม่เห็นก็ตาม ผู้แปลต้องสามารถนำลักษณะนั้นๆ เปรียบเทียบกับลักษณะภาพวัตถุที่คุ้นเคย และสรุปลักษณะนั้นว่าน่าจะเป็นอะไร หรือสรุปได้ว่าเป็นปรากฏการณ์ทำนองเดียวกันหรือต่างกัน
  • การจำแนก (Classification) วัตถุที่ปรากฏในภาพ โดยอาจจัดรวมกลุ่มวัตถุที่มีลักษณะเหมือนกันเข้าไว้ด้วยกัน พร้อมจัดทำรหัส(code) ตามลักษณะของวัตถุและกลุ่ม
    การกำหนดรหัสเพื่อใช้งาน กรณีใช้อักษรควรสอดคล้องกับคำศัพท์บัญญัติและบอกถึงลักษณะสำคัญของวัตถุให้เข้าใจง่าย และเพื่อมิให้เกิดการสับสน เช่น ใช้อักษร M=ภูเขา หรือ H = ที่สูง   P=ที่ราบ รหัสอักษรอาจกำหนด 3-4 ตัวก็ได้ หรืออาจกำหนดตัวอักษรและตัวเลขควบคู่กันก็ได้ เช่น กรมพัฒนาที่ดินกำหนดรหัส อาทิ
  •                               F = พื้นที่ป่าไม้
                   F101 = ป่าดงดิบ
                   F104 = ป่าชายเลน
  • ต้องใช้กล้องมองภาพ 3 มิติร่วมในการแปลความหมาย


  • กลับหน้าหลัก