---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------




การแปลโดยใช้หลักการของความน่าจะเป็น
  • ใช้ข้อมูลจากแหล่งอื่นที่แสดงคุณลักษณะของวัตถุที่ปรากฏในภาพถ่าย เช่น ปฏิทินการเพาะปลูก เพื่อช่วยสนับสนุนระบุจำแนก และยืนยันการแปลความหมาย เช่น
    ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ข้าวนาปีจะปลูกและเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม แสดงว่าในช่วงเดือนมกราคม-เมษายน จะตัดพื้นที่ข้าวนาปีออกไป และแปลเป็นพื้นที่ข้าวนาปรัง เป็นต้น




  • การจดจำโดยตรง
  • เป็นความสามารถที่มาจากผู้แปลความหมายที่ใช้ประสบการณ์ ทักษะและการตัดสินใจจากความเข้าใจและความทรงจำลักษณะของวัตถุ
    ที่ปรากฏในภาพถ่ายทางอากาศ
  • การปฏิบัติการขั้นตอนนี้เป็นแบบเชิงคุณภาพและแปลความหมายโดยอาศัยหลักการแปลภาพถ่าย
  • เงา โทนสี / รูปแบบ รูปร่าง




         การแปลความหมายโดยอ้างอิง
  • นำข้อมูลที่เกี่ยวข้องในรูปแบบอื่นมาร่วมในการแปลความหมาย เช่น แผนที่ดิน แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น
  • ตัวอย่าง การแปลความหมายการกระจายของเนื้อดิน ควรมีแผนที่ชุดดินและแผนที่ลักษณะภูมิประเทศ (แผนที่มูลฐานชุด L7017 หรือ L7018) และแผนที่่ธรณีวิทยา
    เป็นต้น เพราะในเบื้องต้นทราบว่าการกระจายของเนื้อดินจะสัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศและพืชพรรณที่ปรากฏบนภาพถ่ายทางอากาศ
    ดังนั้นเมื่อแปลหรือสามารถระบุเนื้อดินได้ผู้แปลสามารถอ้างอิงถถึงเนื้อดินชนิดเดียวกันได้โดยอ้อม ขั้นตอนนี้ต้องอาศัยความรู้พื้นฐานของผู้แปลร่วมด้วย

  • แผนที่ฐาน L7018 แผนที่ชุดดินรายตำบล แผนที่ธรณีวิทยารายจังหวัด




         การแปลความหมายโดยการวัดข้อมูล
  • เน้นวิธีการวัดข้อมูลเชิงปริมาณ (ถูกต้อง+แม่นยำ)
  • มีความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างวัตถุที่ปรากฏบนภาพถ่ายกับสิ่งที่ปรากฏบนภาคพื้นดิน (ใช้หลักการเรขาคณิตภาพถ่าย)
  • ใช้วัสดุและอุปกรณ์ช่วยในการตรวจัดและดำเนินงาน

  • แปลความหมายในห้องปฏิบัติการ เรขาคณิตภาพถ่าย ใช้กล้องมองภาพ 3 มิติ





         การตรวจสอบข้อมูลในงานภาคสนาม
  • จำเป็นต้องดำเนินการตรวจสอบข้อมูล (เพื่อยืนยันความถูกต้อง+แม่นยำ)
  • เพื่อหาความสัมพันธ์เกี่ยวโยงระหว่างวัตถุที่ปรากฏบนภาพถ่ายกับสิ่งที่ปรากฏบนภาคพื้นดิน
  • เพื่อพิสูจน์ทราบและสร้างความคุ้นเคยกับพื้นที่ศึกษา
  •      หลักการตรวจสอบข้อมูลในภาคสนามมีดังนี้
        1) ต้องนำแผนที่ต้นร่างและภาพถ่ายทางอากาศไปตรวจสอบในพื้นที่จริงด้วย ถ้าต้องก็ไขก็สามารถแก้ไขลงบนแผนที่ต้นร่าง (ถ้าถ่ายเอกสารไปสามารถเขียนทับได้) ทั้งนี้ควรหาแผ่นรองเขียนที่แข็งไปด้วย
        2) ต้องวางแผนเส้นทางการตรวจสอบและการเข้าถึงจุดตรวจสอบ และเลือกเส้นทางที่ผ่านการใช้ที่ดินที่หลากหลายประเภท
        3) การบันทึกข้อมูลการสำรวจนั้นควรบันทึกลงในสมุดแบบฟอร์มการสำรวจ การถ่ายภาพ การสเกตซ์ภาพ ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างเป็นระบบ เพื่อความสะดวกและเข้าใจตรงกันเมื่อนำข้อมูลไปใช้ใน สำนักงานหรือให้บุคคลอื่นใช้ การบันทึกนั้นควรบันทึกข้อมูลตามลักษณะที่สามารถสังเกตเห็นได้จริงในพื้นที่หรือจุดที่ไปตรวจสอบ