คุณสมบัติของผู้แปลภาพ 


      การแปลความหมาย/วิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศ  นอกจากมีความรู้พื้นฐานเรขาคณิตภาพถ่ายทางอากาศแล้ว  ควรมีคุณสมบัติที่จำเป็นอื่นๆ เพิ่มอีกดังนี้

ปัจจัยจากคุณสมบัติของผู้แปลความหมาย (Interpreter Characterristics)

  • หากผู้แปลความหมายมีความคุ้นเคยกับสภาพพื้นที่ จะทำให้การแปลความหมายมีความถูกต้องและรวดเร็วมากขึ้น
  • การแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศนั้นต้องอาศัยความรู้ในหลายสาขามาประกอบเพื่อทำการวินิจฉัยสิ่งที่ปรากฏในภาพถ่าย ซึ่งโดยทั่วไปผู้แปลความหมายควรมีคุณสมบัติดังนี้


  •    1. ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่จะแปลความหมาย   2. ความสามารถทางสายตา 
       3. ความสามารถทางด้านจิตใจ 4. ประสบการณ์  

    ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------



    1. ความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่จะแปลความหมาย (Background)
     ถ้าผู้แปลความหมายมีความรู้เกี่ยวกับสาขาที่จะทำการแปลความหมายย่อมมีความได้เปรียบกว่าบุคคลที่มาจากสาขาอื่น และแปลความหมายได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากมีความเข้าใจธรรมชาติและลักษณะพื้นที่ที่ทำการแปลความหมายเพื่อให้ผู้แปลมีจินตนาการ(Imaginary) และสร้างรูปแนวคิดขึ้น (Conception Model) เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาและพื้นที่ที่จะแปลความหมาย ในลักษณะการรวบรวมข้อมูลแบบเดียวกับระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ซึ่งมีเทคนิคพอสรุปได้ดังนี้

          1.1 ศึกษาลักษณะด้านกายภาพของพื้นที่ (Physical Characteristics) ได้แก่
  • รูปร่างทางภูมิศาสตร์ (Land Form) ลักษณะทางภูมิศาสตร์สามารถศึกษาได้โดยอาศัยแผนที่ภูมิศาสตร์ (Topographic Map) มาศึกษาภาพรวมของพื้นที่ โดยพิจารณาดูความสูงต่ำของพื้นที่ (Relief) ซึ่งอาจเขียนภาพตัดขวาง (Profile) เพื่อช่วยให้ผู้แปลความหมายสามารถจำแนกพื้นที่ ศึกษาออกมาเป็นภูเขา เนินเขา ที่ราบ แม่น้ำ ได้อย่างกว้าง ๆ
  • ศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยา (Geology) การศึกษาโครงสร้างทางธรณีวิทยาประกอบจะช่วยให้จำแนกพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น เช่น ทราบว่าเป็นพื้นที่ภูเขาหินปูน (Limestone) จะมีลักษณะเป็นภูเขาหลายยอด (Krast Topography) ซึ่งแตกต่างจากภูเขาลักษณะอื่น ซึ่งข้อมูลทางธรณีสามารถศึกษาได้จากแผนที่ธรณีวิทยา ของกรมทรัพยากรธรณี และแผนที่รายงานการสำรวจดิน ของกรมพัฒนาที่ดิน เป็นต้น

  •       1.2 ศึกษาลักษณะธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต (Biological Characteristics) ได้แก่
  • ลักษณะการใช้ประโยชน์ตามธรรมชาติ (Natural Landuse) เช่น พื้นที่ซึ่งเป็นภูเขา (Mountain) จนถึงเนินเขา (Foot Hill Slope) โดยทั่วไปจะเป็นพื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่ติดลงมาจะเป็นพื้นที่ปลูกพืชไร่ ส่วนพื้นที่ราบ หรือพื้นที่น้ำท่วมถึง (Flood Plain) โดยปกติจะเป็นพื้นที่ทำนา พื้นที่ดินดอนสามเหลี่ยม (Delta) ริมชายฝั่งทะเลมักจะเป็นป่าชายเลน (Mangrove) เป็นต้น
  • ลักษณะการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ (Human Use) แต่ละชุมชน หรือแต่ละเผ่าอาจมีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมและความต้องการของชุมชน อย่างเช่น ชาวเขาเผ่าม้ง ชอบอาศัยอยู่ตามภูเขาสูง โดยส่วนใหญ่เกิน 700 เมตรขึ้นไป และมักนิยมปลูกฝิ่น ส่วนชาวเขาเผ่าอีก้อ อาศัยอยู่ต่ำลงมา มีอาชีพทำนา ชาวไทยทั่ว ๆ ไปอาศัยอยู่ในพื้นราบตอนล่างของภูเขา เป็นต้น ความแตกต่างเหล่านี้จะเป็นตัวช่วยชี้แหล่งที่อยู่ของชุมชนได้ ซึ่งบางทีรายละเอียดภาพอาจมองเห็นไม่ชัดเจน แต่พอที่จะสามารถคาดคะเนได้ว่าควรเป็นลักษณะชุมชนแบบไหน มีนิสัยในการเพาะปลูกอย่างไร โดยข้อมูลเหล่านี้อาจศึกษาได้จากข้อมูลเศรษฐกิจประกอบในการแปลความหมาย
  • ความต้องการและข้อจำกัดในการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Landuse requirement and Limitation) ผู้แปลความหมายควรที่จะศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของพืช ตลอดจนข้อจำกัดทั้งระยะเวลา ความต้องการของพืช ทั้งด้านดิน ภูมิอากาศ ความต้องการแสง น้ำ เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานในการคาดคะเนว่าพื้นที่นั้นปกติน่าจะเพาะปลูกอะไรได้บ้าง นอกจากนั้น ควรศึกษาเกี่ยวกับปฏิทินการเพาะปลูก (Crop Calendar) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้แปลศึกษาความสัมพันธ์ของคนกับพืชที่ปลูกเพื่อบริโภคหรือขาย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์ของพื้นที่นั่นเอง
  • ศึกษาข้อมูลที่มีอยู่เดิม (Secondary Data) ถ้ามีภาพถ่ายทางอากาศ หรือผลการแปลความหมายภาพถ่ายทางอากาศในพื้นที่ศึกษา หรือผลการสำรวจพื้นที่ที่มีอยู่ก่อนแล้ว มาร่วมพิจารณากับแผนที่ระวางของกรมแผนที่ทหารกับสิ่งที่เห็นในภาพถ่ายดาวเทียมและภาพถ่ายทางอากาศ จะช่วยให้ผู้แปลความหมายวินิจฉัยข้อความได้ดียิ่งขึ้น
  • ศึกษารูปแบบและความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น (Association and Human Activity) การแปลความหมายอาจพิจารณาถึงความสัมพันธ์ในลักษณะของโครงสร้างพื้นฐานของชุมชน เช่น รูปแบบของถนน ซึ่งจะเป็นแยก มีบ้านเรือนอาศัยรวมกลุ่มกันอยู่ 2 ข้างถนน สระน้ำของหมู่บ้าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยวินิจฉัยว่าควรเป็นพื้นที่ใด
  •  

    กลับไปเลือกรายการ





          2. ความสามารถทางสายตา  (Visual  acuity) 
    เป็นคุณสมบัติที่สำคัญอีกประการหนึ่งของผู้แปล  หมายถึง  ความสามารถในการแยกความแตกต่างระหว่างสีได้เป็นอย่างดี  เช่น  สีขาว  สีดำ  สีแดง  สีเขียว  ฯลฯ  และสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างระดับความเข้มของแต่ละสีได้หลายระดับ  โดยปกติสายตาของคนเรานั้นสามารถจำแนกความแตกต่างของระดับสีได้  8 – 16  ระดับ  นอกจากนี้ผู้แปลควรมีความสามารถในการมองรูปภาพให้เกิดเป็น  3  มิติ  คือ  มองเห็นความลึกและความสูงของภูมิประเทศได้ด้วย  จะทำให้การแปลภาพได้ผลดีขึ้น
  • กรณีสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสัั้น สายตายา สายตาเอียง แก้ไขโดยใช้แว่นตาเพื่อปรับสายตาตามสภาพการผิดปกติ
  • กรณีสายตาบอดสี ถ้าแปลภาพขาวดดำอาจยังสามารถกระทำได้บ้าง แต่หากแปลภาพสีอาจเกิดปัญหาขึ้นได้ ควรกระทำด้วยความระมัดระวัง ถ้าสงสัยว่าตาบอดสีหรือไม่ ลองทดสอบจากแบบทดสอบด้านล่างนี้
  •   แบบทดสอบวัดสายตาบอดสี


  • การมองรูปภาพให้เกิดเป็น  3  มิติ  ลองทดสอบมองภาพ 3 มิติดูนะครับ นักศึกษาสามารถมองเห็นความลึกและความสูงของวัตถุที่ปรากฎในภาพหรือไม่


  • แบบทดสอบวัดสายตามองภาพ 3 มิติ


  • ทดสอบมองภาพถ่าพทางอากาศ 3 มิติ แสดงลักษณะภูมิประเทศนะครับ นักศึกษามองเห็นความลึกและความสูงของวัตถุที่ปรากฎในภาพหรือไม่



  • จงบอกลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏในภาพถ่าย

    กลับไปเลือกรายการ








          3. ความสามารถทางด้านจิตใจ  (Mental  acuity)  หมายถึง
  • ความสามารถในการตัดสินใจแบไวในสิ่งที่เห็นในภาพว่าควรเป็นอะไร  ใช้หลักการและเหตุผลประกอบจึงจะตัดสินใจได้อย่างฉับไว  และถูกต้อง  นอกจากนี้การมีสมาธิในการแปลจะช่วยให้ผลการแปลมีความสม่ำเสมอดี
  • มีความสัมพันธ์กับภูมิหลังและประสบการณ์ ผู้แปลความหมายที่มีความรอบคอบ ใจเย็น ชอบสังเกต ความชอบ จึงมีความมั่นใจและทำ การวินิจฉัยภาพถ่ายได้ถูกต้อง และกล้าที่จะตัดสินใจระบุชนิดของวัตถุที่ปรากฏบนภาพถ่าย

  • จากภาพข้างล่างลองพิจารณาว่าลายเนื้อภาพ (Texture) มีเนื้อภาพในลักษณะใด (คำตอบวาง mouse บนภาพ)
     


    กลับไปเลือกรายการ










          4. ประสบการณ์   (Experience) หมายถึง ประสบการณ์ในการแปลภาพและประสบการณ์หรือความคุ้นเคยกับภูมิประเทศของพื้นที่ที่จะทำการแปลประสบการณ์ในการแปลภาพ   หมายความรวมถึงการแปลภาพถ่ายทางอากาศและการแปลภาพถ่ายดาวเทียมระบบต่างๆจะช่วยให้ผู้แปลคุ้นเคยกับการมองเห็นภาพจากด้านบน (Top View) ของวัตถุสามารถจำแนกความแตกต่างของรูปร่าง รูปทรง   ขนาดของวัตถุ   และเข้าใจความหมายและความแตกต่างของสีได้ดียิ่งขึ้น เช่นประสบการณ์ด้านภูมิประเทศ  ได้แก่  ความคุ้นเคยกับสภาพพื้นที่ที่จะแปลไม่ว่าจะเป็นประสบการณ์จากการปฏิบัติงานหรือจากการศึกษาท่องเที่ยวหรือการเคยอยู่อาศัยในพื้นที่นั้นก็ตาม


    มุมมองในภาพถ่าย (Topt view) มุมมองที่คุ้นเคย (Front view)


    กลับไปเลือกรายการ








    กลับหน้าหลัก