หน้าหลัก แนวปฏิบัติ ธรรมชาติและจักรวาล ศิลปะการแสดง ช่างฝีมือดั้งเดิม
Hamburger Catering

หนังตะลุงมลายู : วายังกูเละ

ภาพถ่ายโดย : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

หนังตะลุง : วายังกูเละ คืออะไร

วายังกูเละ คือ หนังตะลุง (Shadow play) ยังมีคำเรียกว่าหลายชื่อ เช่น วายังยาวอ (หนังชวา) วายังมลายู วอแยกูเละ เป็นศิลปะการเล่นเงาหรือมหรศพการแสดงเงาแบบพื้นบ้านของชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พบได้ทั่วไปในภาคใต้และภูมิภาคอาเซียนทั้ง มาเลเซีย อินโดนีเซีย และกัมพูชา ชาวบ้านอาจเรียชื่อว่าหนังควน ทลุง หนังลุง เป็นต้น การแสดงจะใช้บทพากษ์และกลอนพร้อมดนตรีประกอบ นิยมเล่นในงานสมโภชหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ เพื่อให้ความสนุกสนานและครึกครื้น อีกทั้งยังสะท้อนค่านิยมและแฝงโลกทัศน์ของชาวใต้ในเนื้อเรื่องที่แสดงในแต่ละครั้ง.
    ประวัติความเป็นมา : มีข้อสันนิษฐานหลายแนวคิด โดยเชื่อว่ามีประวัติความเป็นมาจากอิทธิพลวัฒนธรรมพราหมณ์ของอินเดีย (จากรูปแบบการแสดงจะออกรูปฤๅษี พระอิศวรก่อนเสมอ) โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบมาจากหนังใหญ่ ตั้งแต่ครั้งสมัยพระนารายณ์ แต่อ.ปองทิพย์ หนูหอม สันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแบบอย่างมาจากอินโดนีเซียโดยผ่านทางคาบสมุทรมลายู ส่วนอินโดนีเซียรับแบบอย่างมาจากอินเดียอีกทอดหนึ่ง อินเดียเรียกศิลปะการแสดงประเภทนี้ว่า "ฉายนาฏกะ" และวรรณกรรมที่ใช้แสดงก็คือ มหากาพย์รามายณะ และมหากาพย์มหาภารตะ หนังชวาเข้าสู่กรุงรัตนโกสินทร์ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพบบทกวีกล่าวถึงในหนังสือขุนช้างขุนแผน และในรัชกาลท่ี่ 5 ได้ทอดพระเนตรการแสดงหนังตะลุงที่วังบางประอินทร์ จึงเรียกชื่อหนังตะลุงมาตั้งแต่ครานั้น

ฤาษี :

ประเภทหนังตะลุง

ขั้นตอนในการแสดงหนังตะลุง
    หนังตะลุงทุกคณะมีธรรมเนียมนิยมหรือลำดับขั้นตอนในการแสดงเหมือนกัน ดังนี้
         ๑. ตั้งเครื่อง
       ๒. แตกแผง หรือแก้แผง หรือปูเงาะห์ อาเจาะ คือ การรื้อรูปตัวหนังจากแผงมาปักจัด เตรียมใว้เพื่อสะดวกเวลาโต๊ะดาแล (นายหนัง) ต้องการนำออกมาแสดง แล้วจะปักตัวหนังรูปภูเขา (ฆูนุง) ไว้กลางจอ เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่าใกล้ถึงเวลาทำการแสดงแล้ว
     ๓. เบิกโรง หรือ บูกอปาโงง คือ การทำพิธีระลึกถึงครูบาอาจารย์ โดยจัดถาดสำรับประกอบด้วย หมากพลู ๓ คำ ข้าวสาร (ข้าวเจ้า) ๑ กำ ด้ายดิบ ๑ เส้น เทียน ๗ เล่ม เงิน ๑๒ บาท (ปัจจุบัน ๓๕๐ บาท) น้ำเย็น ๑ แก้ว นายหนังในพ้ืนที่3 จังหวัดชายแดนใต้นิยมทำหลังแตกแผง แต่พื้นที่อื่นจะตั้งเครื่องก่อน
        ๔. ลงโรง หรือโหมโรง หรือตาโบ๊ะห์ คือส่วนที่แสดงจริง โดยจะเริ่มด้วยการเล่นเครื่องดนตรีล้วนๆ ซึ่งเพลงที่ใช้ขึ้นอยู่กับเรื่องที่แสดงในแต่ละครั้ง ใช้เวลาประมาณ ๓๐ นาที จากนั้นจะเริ่มเชิดด้วยการออกฤาษี หรือออกด้วย แดวอ ปาเนาะห์ (รูปเทวดาฝ่ายธรรมะ) ในอดีตยังมีการออกลิงหัวค่ำ เป็นธรรมเนียมกาออกโรงหนังในอดีต ใช้ลิงขาวแทนฝ่ายธรรมะลิงดำแทนฝ่ายอธรรม รบกันแล้วลิงขาวเป็นฝ่ายชนะ (ปัจจุบันไม่นิยม และไม่พบ) จากนั้นจะออกตัว "มหาราชาวนอ" (ทศกัณฐ์) ออกมาชมเมือง ต่อด้วย "ศรีรามอ" และตามด้วยเหล่า "เสนา" (ตัวตลก)
        ๕. การแสดง/เดินเรื่อง หลังจากโหมโรงเสร็จแล้ว ดาแลทูวอ(นายโรง) จะแสดงเรื่องต่อไปเรื่อยๆ จนจบ และจบการแสดงโดยการออกรูปฤาษีอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนประกอบการแสดงวายังกูเละ (หนังตะลุง)

๑. คณะบุคคล : ประกอบด้วย ดาแลตูวอ (นายหนัง/นายโรง) ทำหน้าที่เป็นผู้เชิดรูปตัวหนังพร้อมทั้งเล่าเรื่อง กำกับการแสดง และการบรรเลงเครื่องดนตรี ดาแลมูดอ หรือผู้ช่วยหรือลูกศิษย์ของนายหนังดาแลตูดอ

๒. รูปวายัง (ตัวหนังตะลุง) : เป็นอุปกรณ์สำคัญเทียบได้กับตัวดาราในการแสดง แบ่งรูปหนังออกเป็น ๔ ประเภท คือ
           ๒.๑ รูปที่ได้รับอิทธิพลจากตัวหนังชวา เช่น รูปเทวดา
        ๒.๒ รูปที่เขียนขึ้นเพื่อใช้แสดงเรื่องราวในวรรณคดี นิทานโบราณ เช่น รูปศรีรามอ (พระราม) หนุแม (หนุมาน) มหาราชาวนอ (ทศกัณฐ์) เป็นต้น
           ๒.๓ รูปที่มาจากตัวหนังตะลุงไทย
      ๒.๔ รูปตัวละครพื้นบ้านโดยเชื่อว่ามีประวัติความเป็นมาจากอิทธิพลวัฒนธรรมพราหมณ์ของอินเดีย (จากรูปแบบการแสดงจะออกรูปฤๅษี พระอิศวรก่อนเสมอ)

๓. เครื่องดนตรี : ที่ใช้ในการแสดงวายังกูเละ ได้แก่ ซูแน/ซูนา (ปี่ นิยมใช้ปี่ชวา) ฆือแน (กลองแขก ๒ หน้า ลูกหนึ่งเสียงสูงอีกลูกสียงต่ำ) ๑ คู่ ฆือดุ (กลองสองหน้า) ๑ คู่ ฆือดอเมาะ(ทับ) ตาเวาะ(ฆ้องขนาด ๗๐-๗๕ ซม.) จาแน (โหม่ง ลูกหนึ่งเสียงสูงอีกลูกสียงต่ำ) ๑ คู่ อาเนาะอาแย (ฉิ่งหรือฉาบ ตีแบบเต็มหน้า) ลือโพะ (ไม้เคาะจังหวะ) ๑ อัน

ตัวยัก ที่มา :

เอกสารอ้างอิง

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2562). วายังกูเละ หนังตะลุงมลายูสื่อพื้นบ้าน สามจังหวัดชายแดนใต้ ใน วัฒนธรรม.         58(2), 16-23.

ฐานข้อมูลท้องถิ่นภาคใต้-มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. ประวัติความเป็นมา/แหล่งกำเนิด. ฐานข้อมูลออนไลน์.         สืบค้นจาก https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/2/50385f2c

ตัวอย่างลักษณะของตัวหนังตะลุงในบทบาทต่าง ๆ

ที่มา : อัจฉริยลักษณ์การละเล่นแห่งเมืองใต้