รูปทรงเรือและประวัติความเป็นมา
รูปทรงลักษณะของเรือ
เป็นเรือต่อแบบไม้ขุดทั้งลำ (ยุคหลังอาจต่อแบบไม้กระดาน) มีรูปพรรณสัณฐานเพียวลม ไม่ต้านลม หัวเรือและหรือท้ายเรือสูง (บางลำท้ายเรือต่ำ) และยื่นออกไป แนวตัวเรือโค้งเป็นรูปวงเดือน เขียนลวดลายสีสันต่างๆ ไว้อย่างสวยงาม ท้องเรือกลมรับกันกับลักษณะของคลื่นในทะเล จึงสามารถที่จะแล่นบนน้ำทะเลได้อย่างมั่นคง มีความคล่องตัวสูง โต้คลื่นได้ดี และคว่ำยาก ใช้เป็นเรือประมงชายฝั่งทะเลทางภาคใต้แถบจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส
เรือกอและทำด้วยไม้เนื้อแข็งที่มียางในเนื้อไม้ ไม้ตะเคียน ไม้พะยอม ไม้หลุมพอ ไม้จือยา และไม้สะยา ในส่วนลำของเรือ จะทำ จาปิ้ง ซึ่งเป็นแผ่นไม้รูปสามเหลี่ยม ฉลุและวาดลวดลายด้วยสีน้ำมัน ใช้ปิดช่องระหว่างลำเรือและส่วนหัวและท้ายเรือโดยโผล่ขึ้นมาข้างบนเล็กน้อย จาปิ้ง ที่อยู่ทางหัวเรือเป็นส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์ และยังมีส่วนที่เรียกว่า บางา เป็นไม้โค้งงอนขึ้นข้างบน ทำเป็นรูปนกติดไว้ทางด้านขวาค่อนไปทางหัวเรือ (ติดกับจาปิ้ง) เพื่อไว้วางไม้ค้ำถ่อ (Southdeep outlook,ออนไลน์)
ประวัติความเป็นมา :
ชื่อเรือกอและ หรือ “ฆอและ” เป็นคำภาษามลายู หมายถึง โคลงเคลง หรือล่องลอย สารานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่มที่ 3 (2505 : 1448) ได้ให้ความหมายไว้ว่ากุแหละหรือกอและ เป็นคำภาษามาลายู ใช้เรียกเรือประมงขนาดเล็กหรือขนาดกลาง แต่บางโอกาสก็นำมาเรียกเรือขนาดใหญ่ได้เหมือนกัน ข้อมูลหลายแห่งสันนิษฐานว่า น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย พร้อมกับการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม และการเข้ามาตั้งรกรากของชาวมุสลิมในภาคใต้ตอนล่างของไทย ดังนี้คือ (กระทรวงวัฒนธรรม, ออนไลน์)
1. การเข้ามาของมุสลิมในประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1800-1921) นั้น มุสลิมอาศัยอยู่ในนครศรีธรรมราชตลอดจนถึงมะละกา และมีหลักฐานที่แสดงว่าในสมัยสุโขทัยนั้นประเทศไทยมีการติดต่อกับประเทศมุสลิม เช่น อินโดนีเซีย อาหรับทั้งนี้ในสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และพระเอกาทศรถ (พ.ศ. 2133-2148) ตำแหน่งเสนา-บดีทางการคลังและการท่าเรือนั้นนิยมใช้ชาวเปอร์เซีย ซึ่งก็ใช้กันเป็นประเพณีสืบต่อมาจนตลอดสมัยอยุธยาและธนบุรี
2. มุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญในการใช้เรือ คนไทยทางภาคใต้รู้จักการใช้เรืออย่างชำนิชำนาญมากกว่าคนไทยในภาคกลางเหตุผลหนึ่งที่สำคัญคือ การอยู่ติดลำน้ำและฝั่งทะเลและหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า ขุนนางเชื้อสายอาหรับมุสลิมมีความสามารถเป็นอย่างยิ่งในด้านกิจการค้าทางทะเล รับราชการได้ตำแหน่งเป็นเจ้ากรมท่าสังกัดกองทัพเรือเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นตำแหน่งสืบทอดแบบประเพณีจึงสันนิษฐานได้ว่าชาวมุสลิมในภาคใต้ความคุ้นเคยและชำนาญในการใช้เรือมาตั้งแต่สมัยโบราณและสืบทอดความชำนาญทางด้านการเดินเรือและการประมงให้แก่ลูกหลาน
3. ปรากฏเรื่องราวของเรือและในสมัยสุโขทัย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พอสรุปและสันนิษฐานได้ว่าเรือกอและและการเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในภาคใต้ตอนล่างของชาวมุสลิมและเนื่องจากชาวมุสลิมในภาคใต้มีความชำนาญพิเศษในการออกทะเลดังนั้นกลุ่มชนนี้จึงยึดอาชีพการประมงและเนื่องจากเป็นชาวพื้นเมืองที่มีทุนทรัพย์น้อย จึงมีการคิดประดิษฐ์เครื่องมือในการออกทะเลเพื่อทำการประมง ทำให้เกิด “เรือกอและ”ขึ้น
สันนิษฐานว่าการวาดลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและน่าจะกำเนิดขึ้นเมื่อเกือบ 1 ศตวรรษที่ผ่านมาสืบเนื่องจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ดังนี้
1. ปรากฏเรือกอและที่มีการเขียนลวดลายจิตรกรรม สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. ปรากฏการแข่งขันเรือกอและที่มีการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมในราวประมาณ พ.ศ. 2487 ในสมัยที่ขุนจรรยาวิเศษ (เที่ยง จรรยาวิเศษบุญยพัตย์) ดำรงตำแหน่งข้าหลวงประจำจังหวัดปัตตานี
3. จากการสอบถามช่างต่อเรือในท้องถิ่นพอสรุปและสันนิษฐานได้ว่าชาวไทยมุสลิมเริ่มมีการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและในสมัยรัตนโกสินทร์ราว1ศตวรรษที่ผ่านมาเพราะเนื่องจากชาวไทยมุสลิมในเขตชายแดนภาคใต้ที่มีวัฒนธรรทางศิลปะมาตั้งแต่บรรพชน
นอกจากใช้ออกทะเลหาปลาแล้ว เรือกอและ ยังมีหน้าที่แห่งความบันเทิง โดยใช้ในประเพณีการแข่งเรือกอและซึ่งจัดในงานเทศกาล ทีอ.สายบุรี และจ.นราธิวาส
งานศิลป์มลายู : อัญมณีแห่งสายน้ำ
ลวดลายที่ปรากฎบนเรือกอและ เป็นลวดลายที่เกิดขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์และอิทธิพลที่ได้รับจากสภาพแวดล้อม ทั้งปัจจัยสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และลักษณะสังคมพหุวัฒนธรรมและวิถีความเป็นอยุ่ร่วมในจังหัวดปัตตานี ลวดลายบนเรือกอจึงปรากฏสีสันลวดลายที่มาจากอิทธิพลศิลปะของ 4 ชนชาติ อันได้แก่ ชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม ชาวชวา และชาวจีน นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมสร้างสรรค์ซึ่งเป็นผลของวัฒนธรรมสัมพันธ์ที่มีคุณค่าสมควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่ง
จิตรกรรมที่นำมาตกแต่งเรือและส่วนใหญ่จึงเป็นภาพสัตว์น้ำ สัตว์ในจินตนาการจากประเพณี ศาสนา วรรณคดี ศิลปการแสดงต่างๆ สัตว์หิมพานต์และภาพทิวทัศน์จิตรกรรมประเภทสัตว์น้ำภาพสัตว์น้ำที่นิยมวาด โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อความสวยงามและอาจจะเพื่อแสดงให้เห็นว่าเรือกอและลำนั้นทำการประมงเพื่อจับสัตว์น้ำประเภทนั้นที่ปรากฎบนเรือกอและ ได้แก่ ปู ปลา กุ้ง หมึกภาพสัตว์ในจินตนาการจากประเพณี ได้แก่ ภาพนกกาเฆาะซูรอ หรือนกกากะสุระ นกกรุดา หรือนกครุฑนกบือเฆาะมาศ หรือนกยูงทอง นกบุหรงซีงอ หรือนกสิงห์ภาพสัตว์ในจินตนาการจากศาสนาภาพสัตว์ในจินตนาการจากวรรณคดี เช่น หงส์ภาพสัตว์ในจินตนาการจากศิลปะการแสดงต่างๆภาพสัตว์หิมพานของไทย เช่น ภาพหนุมาน นาค เงือกภาพสัตว์ในจินตนาการของจีน เช่น ภาพมังกร นกยูง นกกระเรียนจิตรกรรมประเภทภาพทิวทัศน์ (วุฒิ วัฒนสิน. 2542)
ช่างต่อเรือกอและ
ภาพจาก : ภาควิชาภูมิศาสตร์
ภาพจาก : Blogger:ปัตตานีบ้านฉัน โดยทีม ArdenSt.
คลิกที่ภาพ เพื่อดูภาพขยาย >> Click on the images to make them bigger
Key features of Kolek
รายชื่องานวิจัย/เอกสารที่เกี่ยวข้อง | คลิกดูเอกสาร pdf..>> |
วิทยานิพนธ์ : รูปลักษณ์ของท้องถิ่นปัตตานี โดย เจะอับดุลเลาะ เจ๊ะสอเหาะ | เอกสาร..>> |
การศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์วิถีชีวิตของชาวประมงมลายู : เรือกอและ โดย ถเกิงพล ขำยัง | เอกสาร..>> |
บทความ : "เรือกอและจำลอง" ธุรกิจที่สร้างรายได้จากภูมิปัญญาชาวบ้าน โดย วาสนา มะเจะแน | เอกสาร..>> |
บทความ : เรือกอและ : วัฒนธรรมสัมพันธ์ระหว่างเชื้อชาติ โดย สมใจ ศรีนวล | เอกสาร..>> |
บทความ : ศิลปกรรมในทัศนะใหม่จากความเชื่อและรูปแบบเรือปลาจั๊ก กอและ นมพระ โดย คารว์ พยุงพันธ์ | เอกสาร..>> |
บทความ : วัฒนธรรมการตกแต่งลวดลายจิตรกรรมบนเรือกอและ โดย คารว์ พยุงพันธ์ | เอกสาร..>> |
บทความ : เรือกอและ โดย กระทรวงวัฒนธรรม | เอกสาร..>> |
กว่าจะเป็นเรือกอและ : Pattani Heritage City
เรือกอและท้ายตัดสายบุรี ย้ายเรือลงเล
ThaiPBS : บ้านเธอก็บ้านฉัน : กอและ
กบนอกกะลา : เรือกอและ วิถีชาวเล มลายู
กบนอกกะลา : เรือกอและ วิถีชาวเล มลายู (2)
ร้อยเรื่องเมืองปัตตานี - เรือกอและ